เมื่อย สครับบ์

“สวนหลวง ร .๙ เป็นสถานที่ๆคุณพ่อผมชอบพาเที่ยวในวันหยุดตั้งแต่ผมเด็กจนโต ผมมีความสุขมากเมื่อได้ไปที่นั่นทุกครั้ง คล้ายเป็นการไปย้อนรำลึกถึงความทรงจำที่ดีของชีวิต ผมอยากให้คนไทยและคนทั้งโลกรู้ว่ากรุงเทพฯ ก็มีปอดที่ใหญ่โตให้คุณได้หายใจคล่องสูดอากาศบริสุทธิ์ได้เต็มที่ ไม่ต่างไปจากสวนสาธารณะตามเมืองใหญ่ของโลก”

สวนหลวง ร.๙
ได้จัดสร้างขึ้นเนื่องจากแนวคิดที่จะสร้างสวนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พศ. ๒๕๓๕ โดยท่านผู้หญิง มณีรัตน์ บุนนาค เป็นผู้นำร่วมกับแนวคิดของกรุงเทพมหานครที่ต้องการพื้นที่รับน้ำ และปรับปรุงระบบระบายน้ำให้มีความต่อเนื่อง มีที่พักน้ำท่วมขังก่อนถ่ายเทออกแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวน้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๒๓ และเปิดอย่างเป็นทางการในปี พศ. ๒๕๓๐ ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิสวนหลวง และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อสวนสาธารณะแห่งใหม่นี้ว่า “สวนหลวง ร.๙” มีการระดมทุนจัดซื้อที่ดินเชิญชวนให้ประชาชนซื้อดินหน่วยละ ๑ ตารางวาเพื่อสร้างสวน กระจายพื้นที่ ๕๐๐ ไร่ ออกเป็น ๘๐๐,๐๐๐ ตารางเมตร ตารางเมตรละ ๕๐๐ บาท ต่อมาได้ใช้พื้นที่ของกรุงเทพมหานครแลกเปลี่ยนที่ดินเพิ่มเติมกับเอกชนในบริเวณใกล้เคียง

จุดเด่นและพื้นที่ภายในสวนหลวง ร.๙ ส่วนต่างๆ ที่น่าสนใจ
โครงสร้างหลักของสวนหลวง ร.๙ ได้รับการกำหนดให้สอดคล้องกับหลัก ๕ ประการ คือเฉลิมพระเกียรติ ส่งเสริมวิชาการ รวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่น อนุรักษ์สิ่งมีชีวิตและพักผ่อนหย่อนใจแฝงด้วยการปลูกฝังทัศนคติการจัดภูมิทัศน์ภายในสวนจึงสอดคล้องกับหลักดังกล่าว และลักษณะของสวนระดับเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๖ บริเวณ คือ หอรัชมงคลและอุทยานมหาราช สวนพฤกษศาสตร์ ตระพังแก้วเก็บน้ำ สวนรมณีย์ สนามราษฎร์ สวนน้ำ

กิจกรรมของสวนหลวง ร.๙
สวนไม้เมืองหนาวน้อมเกล้าฯ ถวายพ่อหลวงในช่วงวันที่ ๑-๓๑ ธันวาคมทุกปี สวนสาธารณะของกรุงเทพมหานครจะงดงามไปด้วยการจัดภูมิทัศน์ แปลงไม้ดอกเมืองหนาวสีสันสะดุดตา เทศกาลปทุมมาเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงวันที่ ๑-๓๑ สิงหาคมทุกปี ปทุมมา ไม้ดอกท้องถิ่นสีม่วงอมชมพูอ่อนหวานของไทย จะปรากฎความงามสะพรั่งให้ชมได้ในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหามหาราชินี

สถานที่ : สวนหลวง ร.๙
ที่ตั้ง : มูลนิธิสวนหลวง ร.๙ และ สำนักงานมูลนิธิสวนหลวง ร.๙ ถ. สุขุมวิท ๑๐๓ (อุดมสุข) แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ ๑๐๒๖๐
โทรศัพท์ : อาคารถกลพระเกียรติ โทร. ๐ ๒๓๒๘ ๑๓๘๕
หอพฤษศาสตร์ โทร. ๐ ๒๓๒๘ ๑๓๙๑, ๐ ๒๓๒๘ ๑๓๙๔
โทรสาร : ๐ ๒๓๒๘ ๑๓๘๗

แสดงความคิดเห็น

 
Top